Smog

ควันไฟป่าและหมอกควันจากไฟป่า ประกอบด้วยอะไร

ควันไฟป่าเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จึงมีเขม่าควันและก๊าซพิษต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอน มอนนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไซด์ ก๊าซระเหยจากสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอนต่างๆ ฯลฯ รวมทั้ง ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ที่เรียกว่า พีเอ็มเท็น(PM10) ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กพอที่จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของคนได้ ฝุ่นละอองเหล่านี้จึงมีทั้งที่เป็นเขม่าควันธรรมดาหรืออาจรวมตัวเป็นเขม่าควันที่มีสารประกอบจากสารเคมีอันตรายบางชนิดปนเปื้อนได้

หมอกควัน ควันไฟป่าและหมอกควันจากไฟป่า มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร ?
– ฝุ่นละอองของคาร์บอนจะมีผลระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ อันได้แก่ จมูก คอ หลอดลม และปอด ถ้าฝุ่นละออง ขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร จะสามารถเข้าสู่ปอดได้ และมีผลทำให้ ปอดอักเสบ
– ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ มีผลทำให้ขาดออกซิเจน
– สารไดออกซิน ก๊าซจากสารอินทรีย์ระเหย และก๊าซโอโซน มีผลทำให้ระคายเคืองทางเดิน หายใจและทำให้ปอดอักเสบ และอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ถ้าได้รับสารนี้นานๆหลายปี
– ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ จะมีผลระคายเคือง ทางเดินหายใจ ทำลายเนื้อเยื่อปอด อาจทำให้ ปอดบวมน้ำได้และเมื่อผสมกับน้ำในร่างกายจะมีฤทธิ์เป็นกรด อย่างไรก็ตาม หากควันไฟและ หมอกควันดังกล่าว ลอยมาจากที่ไกล ฝุ่นละอองเขม่าควัน เถ้าลอยและก๊าซพิษก็จะเจือจาง เพราะเป็นกระแสลมพัด

อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เป็นอย่างไร ?
– แสบตา ตาแดง
– มีน้ำลายไหล น้ำมูกไหล
– เจ็บคอ คออักเสบ
– ไอ หายใจลำบาก
– ในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคหัวใจ อาจมีอาการกำเริบได้
– ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

ใครคือกลุ่มเสี่ยง ที่ต้อง ดูแลสุขภาพมากเป็นพิเศษ ?
     กลุ่มเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและโรคปอด โรคภูมิแพ้ โรคหัวใจและผู้ที่ทำงานที่เสี่ยงต่อการได้รับฝุ่นละอองและหมอกควันอยู่แล้ว เช่น คนงานในโรงงานโม่หิน คนงานก่อสร้าง ที่อยู่ในบริเวณที่มีควันและหมอกควันจากไฟป่า

ประชาชนจะดูแลป้องกันสุขภาพตนเองได้อย่างไร?

     1. ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีควันไฟและหมอกควันให้ใช้หน้ากากอนามัยหรือผ้าที่ทำด้วยฝ้ายหรือ ลินินพันหลายทบมาคาดปากและ จมูกป้องกันควันไฟ และอาจพรมน้ำที่ผ้าดังกล่าวหมาด ๆ เพื่อซับกรองก๊าซได้มากขึ้น
     2. ผ้าที่ใช้คาดปากและจมูก และ/หรือหน้ากากป้องกันที่ใช้นั้น ถ้าสกปรกหรือเริ่มรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก ซึ่งอาจเนื่องจากเขม่าควันเกาะติดอยู่จำนวนมากควรเปลี่ยนใหม่
     3. บริเวณที่อยู่อาศัยที่ไม่มีระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ ต้องปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควัน เข้ามาในอาคาร และ พยายามไล่ควันออกจากบ้านเรือน เช่น เป่าพัดลมในทางเดียวให้ควัน ดังกล่าวออกจากบ้านเรือนสู่ภายนอก
     4. ในห้องเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล ศูนย์การค้า หรืออาคารขนาดใหญ่ที่ต้องมีที่กรอง อากาศจากภายนอกอาคารเข้าสู่ในอาคารมีการเปลี่ยน/ล้างระบบกรองอากาศเป็นประจำ
5. ไม่เผาสิ่งใดที่เป็นการเพิ่มหมอกควันมากยิ่งขึ้น

     6. คอยดูแลผู้ที่อยู่ในบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โรคหัวใจ ผู้พิการ และ/หรือผู้ที่ไม่สามารถ ช่วยตัวเองได้ โดยพาออกจากที่ที่มีหมอกควันมากหาก มีอาการผิดปกติให้นำส่งแพทย์
     7. คอยฟังข่าวเตือนภัย เพื่อดูและป้องกันตนเองให้ห่างจากสถานที่ที่มีภัยจากหมอกควัน ดังกล่าว
     8. ถ้ามีอาการผิดปกติในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ มีไข้สูง ไอ เจ็บ-อก ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

ค่ามาตรฐานสำหรับ PM 10
ค่าปกติ < 120 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม.
มีผลกระทบต่อสุขภาพกลุ่มเสี่ยง 120-130 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม.
กระทบบุคคลทั่วไป >300 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม.

หมอกควันต้องการข้องมูลเพิ่ม ติดต่อที่
– สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 590 4380, 02 591 8172 โทรสาร 02 590 4388
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12
– โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
– สำนักงานสาธารสุขจังหวัด


— เทศบาลท่าสุด —

Leave a comment